เป็นที่ทราบกันดีว่า ในระบบสุริยะของเรา มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง รายล้อมด้วยดาวเคราะห์บริวารทั้ง 8 ดวง แต่ทราบหรือไม่ว่า มีการตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า จริง ๆ แล้วระบบสุริยะยังมีดาวเคราะห์ดวงที่ 9 อยู่อีก (ซึ่งไม่ใช่ดาวพลูโตที่ถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์แคระไปแล้ว)
ดาวดวงที่ 9 นั้นคือ “ดาวเคราะห์ X” เป็นดาวเคราะห์สมมติที่เชื่อว่าอยู่ในระบบสุริยะชั้นนอกเลยดาวเนปจูนออกไป การมีอยู่ของมันได้รับการตั้งสมมติฐานมาหลายปีแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการค้นพบ
นักดาราศาสตร์เผยภาพใหม่ “ลำอนุภาค” พุ่งออกมาจากหลุมดำ
นึกว่าลูกแก้วอัญมณี! ภาพ “ดาวยูเรนัส” จากกล้อง “เจมส์ เว็บบ์”
นักวิทย์พบ “หลุมดำมวลยิ่งยวด” แห่งใหม่ มีขนาดใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ!
ทฤษฎีดาวเคราะห์ X เกิดจากมีการพบความผิดปกติของวัตถุบางอย่างในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่นอกดาวเนปจูน และเป็นที่อยู่ของวัตถุน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมาก โดยมีการเสนอหลักฐานทางอ้อมหลายชิ้นที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงนี้
หลักฐานหนึ่งจากการศึกษาเมื่อปี 2016 ของนักดาราศาสตร์ แชด ทรูจิลโล และสกอตต์ เชพพาร์ด พบว่า วัตถุในแถบไคเปอร์หลายชิ้นมีวงโคจรที่มีลักษณะเป็น “วงรี” แบบผิดปกติ
พวกเขาระบุว่า ลักษณะดังกล่าวนี้น่าจะเกิดจาก “อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงจากวัตถุขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างไกล” ซึ่งพวกเขาเรียกว่า “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9”
จากการคำนวณของพวกเขา ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 จะมีมวลประมาณ 10 เท่าของโลก และโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนประมาณ 20 เท่า
หลักฐานอีกประการหนึ่งมาจากวงโคจรของวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะชั้นนอก รวมทั้งดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ห่างไกลบางดวงและดาวเคราะห์แคระเซดนา ในการศึกษาเมื่อปี 2019 นักวิจัย แอนน์-มารี มาดิแกน และอเล็กซานเดอร์ ซเดริก ใช้การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างแบบจำลองวงโคจรของวัตถุเหล่านี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ1
พวกเขาพบว่า วงโคจรของวัตถุเหล่านี้เหมือนได้รับอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของวัตถุขนาดใหญ่ที่อยู่เลยดาวเนปจูนออกไปอีก และจากการจำลอง วัตถุนี้จะมีมวลประมาณ 5-10 เท่าของโลก และมีวงโคจรที่ยาวและเอียงมากเมื่อเทียบกับระนาบของระบบสุริยะ
นอกจากนี้ มีการเสนอแบบจำลองทางทฤษฎีหลายชิ้นเพื่ออธิบายลักษณะดาวเคราะห์ X ความเป็นไปได้ประการหนึ่งคือมันเป็นดาวแก๊สยักษ์ (Gas Giant) คล้ายกับดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์ แต่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก
ความเป็นไปได้อีกอย่างคือ มันเป็นดาวเคราะห์หินที่มีขนาดเล็ก คล้ายกับโลก แต่มีวงโคจรที่ยาวมาก บางแบบจำลองได้เสนอว่า ดาวเคราะห์ X อาจเป็นหลุมดำหรือดาวแคระน้ำตาล ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปที่จะรองรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้
อย่างไรก็ดี ณ ปัจจุบันยังคงไม่มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่า ดาวเคราะห์ X มีจริงหรือไม่ แต่ถ้าดาวเคราะห์ X มีอยู่จริง มันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่เปลี่ยนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับระบบสุริยะและจักรวาลโดยรวม
นัยหนึ่งคือ มันจะท้าทายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการก่อตัวและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ แบบจำลองการก่อตัวของระบบสุริยะในปัจจุบันบ่งชี้ว่า ก๊าซและฝุ่นในเนบิวลาสุริยะค่อย ๆ ก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ขณะที่พวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์ฝยยุคแรกกำเนิด
อย่างไรก็ตาม การมีอยู่ของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างไกลอย่างดาวเคราะห์ X จะบ่งชี้ว่า กระบวนการก่อตัวนั้นซับซ้อนกว่าที่คิดไว้ก่อนหน้านี้ เป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์ X ก่อตัวขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของเนบิวลาสุริยะ และต่อมาถูกขับออกมาโดยแรงโน้มถ่วงกับดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือวัตถุขนาดใหญ่
การค้นพบดาวเคราะห์ X จะมีนัยสำคัญต่อความเข้าใจของเราเกี่ยวกับประวัติของระบบสุริยะด้วย โดยเป็นไปได้ว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ X กับดาวเคราะห์หรือวัตถุอื่นในระบบสุริยะ อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการกระจายของวัตถุในระบบสุริยะยุคแรก
นี่เป็นทฤษฎีทางดาราศาสตร์ที่ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ดาวเคราะห์ X มีอยู่จริง หรือเป็นเพียงความเข้าใจผิดบางประการ อาจจะมีวัตถุอื่นที่ไม่ใช่ดาวเคราะห์ ซึ่งสร้างแรงอิทธิพลต่อการโคจรของวัตถุในแถบไคเปอร์ จนนักดาราศาสตร์เข้าใจผิดไปว่ามีดาวเคราะห์ดวงที่ 9 อยู่ในระบบสุริยะ
เรียบเรียงจาก The Brighter Side News
ภาพจาก Getty Image